รัฐบาลวางเป้าหมายจัดสรรงบประมาณ69 ตั้งมั่นบนความท้าทายจากสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไป เพราะประเทศไทยต้องไม่เป็นผู้ตามแต่ผู้ปรับตัวเชิงรุก 

วันที่ 28 พฤษภาคม 2568 นายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ได้กล่าวอภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ 2569 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ว่าด้วยสถานการณ์โลก ความท้าทายของประเทศไทย นำมาสู่ความจำเป็นในการจัดงบประมาณที่สอดคล้องต่อสถานการณ์ และประโยชน์ของประชาชนที่จะได้รับจากการจัดงบประมาณของรัฐบาล พร้อมเสนอทิศทางการดำเนินโยบายชัดเจนต่อรัฐบาลได้พิจารณา

รัฐบาลได้จัดงบประมาณบนความท้าทาย 5 เรื่อง ซึ่งได้แก่ 1) การแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ของประเทศมหาอำนาจ 2)  วิกฤตสังคมผู้สูงวัยสุดขีด 3) การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ 4) มาตรการกีดกันทางการค้าของประเทศเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่เพิ่งเกิดขึ้นและรุนแรงขึ้น และ 5) การเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันทางเทคโนโลยี 

.

ความท้าทายการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ สหรัฐฯ จีน และรัสเซีย ซึ่งต่างแข่งขันเพื่อแย่งชิงอิทธิพลทั้งในด้านเศรษฐกิจ การทหาร เทคโนโลยี และบทบาทในเวทีโลก  เมื่อระเบียบโลกเปลี่ยนไปจึงนำมาสู่ข้อจำกัดในการจัดทำนโยบายระหว่างประเทศของไทย จึงเสนอ 4 แนวทางที่ให้รัฐบาลไปพิจารณา โดยให้ยึดผลประโยชน์ของประเทศเป็นธงนำ ยึดกฎเป็นหลัก การดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยต้องไม่เข้าไปเป็นคู่ขัดแย้ง  รัฐบาลได้สนับสนุนนโยบาย 1,952 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนแนวทางดังกล่าว และการสนับสนุนสันติภาพอย่างชัดเจน 

.

ความท้าทายในการเกิดวิกฤตผู้สูงอายุเป็นปัญหาที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ องค์การสหประชาชาติ (UN) คาดการณ์ว่า ภายในปี 2050 ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนมากกว่า 2 พันล้านคน สำหรับประเทศไทย อัตราการเกิดลดลงถึง 81% ใน 74 ปี อัตราการเกิดน้อยลงเป็นอันดับ 3 ของโลก ส่งผลกระทบต่องบประมาณ ไม่ว่าจะเป็นด้านแรงงานน้อยลง ภาระการคลังในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น ลงทุนด้านโครงสร้างได้น้อยลง จัดเก็บภาษีได้น้อยลง 

.

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ เป็นเรื่องรัฐบาลจริงจังในการจัดการ เพราะกระทบต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก อีกทั้งนโยบาย “อเมริกาต้องมาก่อน” (America First) ที่กลับมาในสมัยที่สองของประธานธิบดีทรัมป์ที่ขึ้นอัตราภาษี ทำให้ประเทศไทยอยู่ในอัตราภาษี 10% เอาใจช่วยให้รัฐบาลเจรจาให้สำเร็จ ซึ่งนายนพดลกล่าวว่า ปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่ New world disorder เป็นระเบียบโลกใหม่ที่โลกไร้ระเบียบ 

.

ในด้านการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันทางเทคโนโลยี รัฐบาลมีความเตรียมพร้อมในทั้งเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอน โดยเฉพาะเศรษฐกิจโลกถดถอย มีปัญหาในด้านห่วงโซ่อุปทาน รัฐบาลได้มองอนาคตและปรับตัวยืดหยุ่นบนพื้นฐานของความจริง ตัวอย่างเช่น การที่รัฐบาลได้จัดสรรเงิน 1.75 แสนล้านบาทเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในโครงสร้างพื้นฐาน

.

[แนวทางการจัดสรรงบประมาณบนความท้าทาย 5 ประการ]

ในการจัดสรรงบประมาณครั้งนี้ถูกจัดวางอยู่บนเป้าหมายหลัก 2 คือ ลดความเสี่ยงให้กับประชาชนในสภาวะความเสี่ยงสูงและการหาพื้นที่ใหม่เพื่อการเติบโตสำหรับในอนาคต  

.

รัฐบาลจัดสรรงบประมาณจำนวน 5,418.3 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ให้ประเทศไทยมีความมั่นคงสามารถรับมือกับความท้าทายจากภายนอกได้ทุกรูปแบบ 

.

มีการจัดสรรงบประมาณด้านการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยจำนวน 786.3 ล้านบาท เพื่อการรองรับผู้สูงอายุ พัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อดูแล พัฒนาศักยภาพต่างๆ นอกจากนี้ ยังจัดสรรงบสำหรับการดำเนินมาตรการดูแลกลุ่มเปราะบาง จำนวน 13,224.5 ล้านบาท 

.

การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 147,216.9 ล้านบาท ครอบคลุมทั้งกา่รจัดการโลกร้อน การจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม

.

จากมาตรการกีดกัดทางการค้าของประเทศเศรษฐกิจหลัก  รัฐบาลจัดสรรงบประมาณจำนวน 4,196 ล้านบาท ยังสนับสนุนงบประมาณพัฒนาด้านคมนำคมและระบบโลจิสติกส์ จำนวน 211,963.0 ล้านบาท ลดต้นทุนการขนส่ง เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน  เพิ่มการแข่งขันของประเทศให้มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า  และปัญหาการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันทางเทคโนโลยี รัฐบาลจัดสรรงบประมาณจำนวน 19,828.3 ล้านบาท 

.

ยุทธศาสตร์ในการสร้างคุณภาพการศึกษา พัฒนาคุณภาพและโอกาสที่จะได้รับการศึกษา ทั้งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เพื่อช่วยเหลือดูแลให้เยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษา การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต  งบประมาณจำนวน 38,381.4 ล้านบาท ซึ่งนายนพดลได้เสนอเพิ่มเติมถึงการเสริมการเรียนรู้ทางด้าน AI และทักษะทางภาษาอังกฤษ

.

ด้านการท่องเที่ยวรัฐบาลได้จัดสรรงบถึง 18,312 ล้านบาท ทั้ง Entertainment Complex และ Wellness Center & Medical Hub 3,340 ล้านบาท  และสุดท้ายในการจัดสรรงบประมาณด้านมหาอำนาจทางด้านอาหาร เกษตรมูลค่าสูง รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต

.

ในการจัดการงบประมาณต้องสามารถแก้ปัญหาทั้งด้านทุนมนุษย์และการศึกษา ด้านหลักนิติรัฐเพื่อความเชื่อมั่นของประเทศ การปราบปรามคอร์รัปชั่น ด้านประสิทธิภาพภาครัฐ และการเดินหน้าเพื่อทำนโยบายอย่างจริงจัง 

.

“เราจะไม่ใช่ผู้ตามแต่เราจะเป็นผู้ปรับตัวเชิงรุก เราจะออกแบบสถานการณ์ที่สอดคล้องกับโอกาสใหม่ ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไรก็ตาม ประชาชนสำคัญที่สุด พรรคเพื่อไทยหัวใจคือประชาชน” นายนพดล กล่าว 

#อภิปรายงบประมาณ69 #โอกาสไทยเกมใหม่รับวิกฤตโลก