นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมเสวนาในงาน ปลดล็อกอนาคตประเทศไทย สู้วิกฤติโลก Unlocking Thailand Future ณ ห้องบอลรูม 1-2 ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระบุรัฐบาลเดินหน้ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ลดความเหลื่อมล้ำ-ขยายโอกาสคนเมืองและต่างจังหวัด 

นางมนพร เจริญศรี กล่าวถึงนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายว่าเป็นนโยบายที่ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน จนมาถึงนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ให้ความสำคัญการขนส่งทางราง คือการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างมิติเศรษฐกิจให้คนกรุงเทพ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ยาก แต่ก็ไม่ยากเกินสามารถของพรรคเพื่อไทย เพราะทุกครั้งที่พรรคเพื่อไทยมีโอกาสเป็นรัฐบาล จะคิดถึงพี่น้องประชาชนในทุกมิติ ไม่ว่าพี่น้องจะอยู่ในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด และตั้งแต่รัฐมนตรีสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ มาดำเนินโครงการดังกล่าว ได้เริ่มทดลองนำร่องในรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วง พบว่าจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นการช่วยลดรายจ่าย คือจ่ายให้น้อยลง และขยายโอกาสคือให้พี่น้องทุกกลุ่มได้เข้ามามีโอกาสได้ใช้รถไฟฟ้าอย่างเท่าเทียม

.

การที่จะทำโครงการ รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายได้ จะต้องแก้ไข กฎหมาย 3 ฉบับคือ พ.ร.บ.ขนส่งทางราง,  พ.ร.บ.ตั๋วร่วม และ พ.ร.บ.ขนส่งทางราง ซึ่งทั้งหมดจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนฯ ในวาระที่ 2-3 ได้ทัน

.

ส่วนคำถามที่วิพากษ์วิจารณ์กันว่า ทำไมรถไฟฟ้า 20 บาท เท่ากับเอาเงินภาษีประชาชนต่างจังหวัดมาให้คนกรุงเทพฯ ใช้หรือไม่ ต้องเรียนสร้างความเข้าใจใหม่ว่าเงินภาษีทุกบาททุกสตางค์คือเงินของคนทั้งประเทศ และคนที่ขึ้นรถไฟฟ้าก็คือคนทั้งประเทศ คือมีทั้งคนกรุงเทพ และคนต่างจังหวัดที่มาอาศัยอยู่ในกรุงเทพ มาอยู่ มาเรียน มาทำงาน ราคารถไฟฟ้า 20 บาทคือการลดความเหลื่อมล้ำให้พี่น้องทุกคนได้ใช้รถโดยสารสาธารณะ  และรัฐบาลก็ไม่ได้คิดเพียงแค่ รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย แต่เราคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะสร้างระบบฟีดเดอร์ หมายถึงระบบขนส่งสาธารณะที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างจุดรับส่งผู้โดยสารหลัก (เช่น สถานีรถไฟฟ้า) กับพื้นที่อยู่อาศัยหรือจุดหมายปลายทางอื่นๆ โดยรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณ จัดหารถอีวีทั่วกรุงเทพมหานคร โดยต่อไปคนกรุงเทพจะไม่ต้องใช้รถเมล์สีแดงเก่าๆที่อายุ 30 ปีอีกต่อไป แต่เราจะใช้รถเมล์อีวี และนำรถเมล์อีวีมา  รวมถึงลดค่าครองชีพให้ประชาชน

.

“เราต้องคิดว่า บางคนมีเงินแค่ 100 บาท/วัน เมื่อนั่งรถไฟฟ้าไป-กลับตลอดสายแค่ 40 บาทแล้ว ทำให้เหลือเงิน 60 บาท เขาสามารถนำเงินที่เหลือมาจับจ่ายใช้สอย ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ และหวังว่านโยบายเหล่านี้จะช่วยลดค่าครองชีพให้พี่น้องอีกทางหนึ่ง” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าว

.

นอกจากนี้  รมช.มนพร ยังกล่าวถึงโครงการแลนด์บริดจ์ คือโครงการพัฒนาระบบขนส่งขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด คือชุมพร ระนอง สุราษฏร์ธานี และนครศรีธรรมราช ริเริ่มตั้งแต่สมัยนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร จนมาถึงแพทองธาร ชินวัตร ซึ่งการขนส่งทางทะเลหลายคนทราบดีว่าเป็นต้นทุนการขนส่งที่มีต้นทุนต่ำ และการขนส่งทางทะเลมีองค์ประกอบอื่นเช่นการสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ชุมพร ระนอง และมีการสร้างรถไฟรางคู่เชื่อมมอเตอร์เวย์ โดยโครงการนี้จะมีมูลค่ารวมถึง 1 ล้านล้านบาท 

.

การบริหารจัดการพื้นที่หลังท่าเรือ ที่ขณะนี้มี ร่าง พรบ เอสอีซี กำลังเข้าสู๋การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยโครงการนี้มีนักลงทุนหลายประเทศให้ความสนใจ และโครงการเหล่านี้จะได้สร้างมิติทางการแข่งขันทางทางทะเล ลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการ

.

ส่วนเรื่องรถไฟรางคู่นั้น เราจะบอกว่า ความเจริญไม่ใช่มีแค่กรุงเทพมหานคร แต่ความเจริญจะกระจายไปยังภูมิภาคได้ต้องขยายเส้นทางรถไฟทางคู่ ไม่ว่าจะจากกรุงเทพฯ ไปเชื่อมที่นครราชสีมา และขยายต่อไปหนองคาย เพื่อเชื่อมการขนส่งสินค้าไปลาว เวียดนาม จีน นี่คือการเชื่อมโลก  และล่าสุดมติ ครม. ได้อนุมัติสร้างรถไฟ 3 สนามบินเพื่อเชื่อมไปภาคตะวันออก ซึ่งรถไฟความเร็วสูงเหล่านี้จะช่วยขนส่งทางรางขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สนับสนุนการแข่งขันของโลก โดยการเปลี่ยนแปลงมิติโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางราง บก น้ำ อากาศนี้ จะเป็นตัวหนึ่งที่ช่วยปลดล็อกวิกฤติประเทศไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืน 

 .

#พรรคเพื่อไทย #ปลดล็อกอนาคตประเทศไทยสู้วิกฤติโลก