พิชิต ชื่นบาน เปิดบันทึกประชุม กรธ. รธน. 60 พบกรรมการร่างเองยัง ‘กังวล’ กรณีเขียนคุณสมบัตินายกรัฐมนตรี (4) , (5) เรื่องความซื่อสัตย์ และมาตรฐานจริยธรรม อาจถูกใช้เป็นช่องทางกลั่นแกล้งทางการเมือง ให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญจำนวนมาก ทำให้กลายเป็นศาลการเมืองโดยปริยาย
2 ก.ค. 2568 พิชิต ชื่นบาน อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เขียนบันทึกผ่านเฟซบุ๊ก พร้อมเปิดเผยเอกสารบันทึกการประชุมของคณะกรรมการร่าวงรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 โดยระบุว่า
“กฎหมายที่ดีคือการให้ผู้บังคับใช้กฎหมายใช้ดุลยพินิจน้อยที่สุด” เป็นแนวคิดทางนิติศาสตร์ที่มีรากฐานมาจากทฤษฎี หลักนิติรัฐ (Rule of Law) และแนวคิดเรื่อง ความแน่นอนของกฎหมาย (Legal Certainty) ซึ่งสามารถอธิบายหลักการและที่มาของแนวคิดนี้ได้ดังนี้ครับ
1. หลักนิติรัฐ (Rule of Law) สาระสำคัญคือ กฎหมายต้องมีความชัดเจน ครอบคลุม และเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อป้องกันการใช้อำนาจโดยพลการของรัฐหรือเจ้าหน้าที่
2. หลักความแน่นอนของกฎหมาย (Legal Certainty) กฎหมายที่ดีต้องเขียนชัดเจน ครอบคลุมสถานการณ์ต่าง ๆ ไว้อย่างละเอียดพอสมควร เพื่อลด “ช่องว่างทางกฎหมาย” ที่เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่รัฐตีความตามดุลยพินิจ เพราะการใช้ดุลยพินิจที่มากเกินไป อาจนำไปสู่การเลือกปฏิบัติ และเกิดความไม่เป็นธรรม
ในระหว่างการยกร่างรัฐธรรมนูญ 60 เลขานุการกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เคยให้ความเห็นเกี่ยวกับบทบัญญัติเรื่องคุณสมบัติความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และพฤติกรรมทางจริยธรรมที่ดี ในการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ 45 เมื่อวันอังคารที่ 15 ธันวาคม 2558 ไว้ว่า “อาจจะเป็นช่องทางในการกลั่นแกล้งทางการเมือง และจะทําให้มีคําร้องส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญจํานวนมาก ทําให้ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นศาลการเมืองไปโดยปริยาย”
สิ่งที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในวันนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ข้อท้วงติงของเลขานุการกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กลายเป็นจริงหรือไม่ เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันพิจารณา
#พรรคเพื่อไทย #รธน #พิชิตชื่นบาน #ศาลรธน #คุณสมบัตินายกรัฐมนตรี

บทความที่เกี่ยวข้อง

ครม.มีมติ มอบรองนายกฯ ภูมิธรรม รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี เบอร์หนึ่ง
อ่านต่อ