ฐิติมา ฉายแสง ส.ส.ฉะเชิงเทรา เขต 1 พรรคเพื่อไทย ตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2568 เรื่องปัญหาราคาต้นทุนอาหารสัตว์มีราคาสูง สวนทางกับรายได้เกษตรกร

และสวนทางกับความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลก รวมถึงกังวลถึงสินค้าเกษตรไทยที่จะได้รับผลกระทบหากมีการเปิดตลาดภายหลังการเจรจาภาษีทรัมป์ ชี้รัฐต้องเร่งมาตรการเยียวยาให้ชัดเจนเพื่อคลายกังวลเกษตรกร

นางฐิติมา กล่าวว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ดิน-น้ำ-ลม-แดด เรามีครบทุกอย่าง แม้แต่ประเทศที่อยู่ในเขตหนาวหรือแล้ง หลายแห่งเขาอิจฉาเราค่ะ เราปลูกข้าวได้ทุกภาค เราผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ มันสำปะหลังเราก็มีเยอะ และมีกะลามะพร้าว เหง้าอ้อย กากน้ำตาล เศษพืชจำนวนมากที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ได้ แต่วันนี้ เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ของไทย กลับต้องซื้ออาหารสัตว์ในราคาที่สูงเกินจริงเสมอ

.

ประเทศไทยที่บอกว่าเป็น “ครัวของโลก” ทำไมต้องนำเข้าปลาป่นจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งที่มีเรือประมงเป็นหมื่นลำ? ทำไมต้องนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลายล้านตัน ทั้งที่เราก็ปลูกได้เอง?

.

ทำไมข้าวที่เป็นพืชหลักของคนไทย ชาวนาขายได้ราคาแค่ 5 บาท/กิโล แต่รำข้าวซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการสีข้าวเปลือก และมักเป็นวัตถุดิบที่เราใช้เลี้ยงสัตว์ กลับมีราคาสูงกว่าข้าวเปลือกเป็นเท่าตัว?

.

จากที่สำรวจดูปัญหาของเกษตรกร พบข้อสังเกตดังนี้

.

– ประเทศไทยไม่มีนโยบาย zoning ไม่มีการบริหารพื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสม ไม่มีการวางแผนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างจริงจัง

-สมาคมการค้าพืชไร่บอกว่าเกษตรกรไทยปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ 900–1,000 กก./ไร่ แต่กรมเศรษฐกิจการเกษตรให้ข้อมูลว่า ปลูกได้แค่ 700 กก./ไร่ ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการของภาคปศุสัตว์ ทำให้รัฐบาลต้องนำเข้าข้าวโพดจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรไทยลำบาก

-กระทรวงเกษตรฯ  ไม่มีทิศทางการพัฒนาการเกษตรของประเทศที่ชัดเจน  ไม่มีการส่งเสริมเมล็ดพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง

-ระบบชลประทานยังไม่ทั่วถึง

-มีงานวิจัยด้านเกษตรมากมาย แต่เกษตรกรเข้าถึงได้น้อย

-ไทยต้องนำเข้าถั่วเหลืองมากถึง 96% ของความต้องการใช้ในประเทศ และสิ่งที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็น GMO จากสหรัฐอเมริกา แต่ขณะเดียวกัน ไทยกลับอนุญาต ให้นำเข้าสินค้า GMO ได้ แต่ห้ามเกษตรกรไทยปลูกพืช GMO ตรงนี้ที่แปลกใจ

.

เมื่อเช้าในคณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์ เจ้าหน้าที่จากกรมการค้าต่างประเทศมาชี้แจงว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา มีต้นทุนอาหารหารสัตว์ต่ำกว่าไทย 38% ทั้งๆที่ประเทศเขาค่าแรงสูงกว่า เขาก็ปลูกอะไรสู้เราไม่ได้ ดิน-น้ำ-ลม-แดด เขาไม่ได้เท่าเรา อากาศเขาหนาว มีหิมะ และเวียดนาม ต้นทุนอาหารสัตว์ก็ต่ำกว่าไทย 15%  

.

เมื่อสำรวจต้นทุน อาหารสัตว์ก็พบว่า

-หมู สหรัฐอเมริกาต้นทุน 40 ไทย 80 ต่างกันเท่าตัว

-ไก่ ไทย 36-38 บาท บราซิล 34 เอง 

-กุ้งขาว อินเดียถูกกว่าเรา เวียดนามถูกกว่าเรา

-ปลานิล ไทย-เวียดนามแข่งกัน เราแพ้

.

จึงขอฝากความห่วงใยไปยังรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า  ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก เราปลูกพืชอาหารสัตว์ได้มากมายหลายชนิด แต่ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์กลับสูง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีแนวทางในการ “ลดต้นทุนอาหารสัตว์” ได้หรือไม่ อย่างไร

.

นอกจากนี้ จากสถานการณ์ภาษีต่างตอบแทนจากสหรัฐอเมริกา ที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ ว่าไทยจะโดนเรียกเก็บภาษีนำเข้า 36% โดยที่ทราบกันว่าภาษีนำเข้า “หมู–เนื้อวัว” จากสหรัฐฯ มาไทย อาจจะลดเหลือ 0% ถ้าข้อตกลงนี้มีผลในเดือนสิงหาคม 2568 นี้จริง จะต้องฝากให้ท่านรัฐมนตรีช่วยพิจารณาว่า  ในสหรัฐฯ มีต้นทุนการเลี้ยงหมูเพียง 40 บาท/กก. แต่เกษตรกรไทยต้องแบกรับต้นทุนสูงถึง 80 บาท/กก. ถ้าเราเปิดให้นำเข้าสินค้าปศุสัตว์แบบไร้ภาษีและจะเหลือที่ยืนให้เกษตรกรไทยอีกหรือไม่?

.

จึงต้องฝากให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงการคลัง 

กระทรวงพาณิชย์ ได้หารือ และเร่งผลักดันมาตรการเพื่อช่วยปกป้องเยียวยาเกษตรกรไทย ให้ได้รับผลกระทบจากปัญหาภาษีและการเปิดตลาดสินค้าเกษตรไทยในครั้งนี้ ให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

.

#พรรคเพื่อไทย