รวมการทำงานของรัฐบาลแพทองธาร 7 เดือนหลังแถลงนโยบายต่อรัฐสภา แก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 อย่างไรบ้าง

ก.ย. 67 สานต่อนโยบายมาตรฐาน‬‭ EURO 5/6‬‭ ลดมลพิษจากรถยนต์‬

 – เริ่มเตรียมมาตรการรับมือฝุ่นปลายปี 67

ต.ค. 67 – เปิดตัว ‘ยุทธศาสตร์ฟ้าใส’ ไทย ลาว เมียนมา

– เข้มงวดมาตรการระวังไฟป่าทั่วประเทศ

พ.ย. 67 – กำหนดช่วงห้ามเผารายจังหวัด

– วางแผนบูรณาการควบคุมแหล่งกำเนิดฝุ่นทุกประเภท 

ธ.ค. 67 – ครม. ออกคำสั่งห้ามเผาไร่ และงดรับซื้อพืชเก็บเกี่ยวจากการเผาไร่

–  รายงาน: จุดความร้อนในจังหวัดเชียงใหม่ลดลง 50%

ม.ค. 68 – นายกฯ สั่งเร่งแก้ PM2.5 ทั่วประเทศ‬

– ห้ามรับซื้ออ้อยเผา / ตรวจรถควันดํา / คุมไซต์งานก่อสร้าง‬

– กระทรวงเกษตรฯ ออกคําสั่ง ห้ามเผาพื้นทีเกษตรทั่วประเทศ (17 ม.ค.)‬

– กทม. เริ่มใช้มาตรการ LEZ ห้ามรถบรรทุกเข้าเมืองช่วงฝุ่นวิกฤต‬

– ครม. อนุมัติงบกลาง 620 ลบ. รับมือไฟป่าและฝุ่น 

– ปภ. ออกคําสั่ง ห้ามเผาในที่โล่ง (30 ม.ค.) ครอบคลุม 50 จังหวัด‬

ก.พ. 68 – ผลหลังห้ามเผา: จุดความร้อนทั่วประเทศลดลงชัดเจน (GISTDA)‬

– นายกฯ ประชุมติดตามยุทธศาสตร์ฟ้าใส 3 ประเทศ‬

– ตํารวจ–หน่วยงานท้องถิ่นกวาดล้างรถควันดําทั่วประเทศอย่างเข้มข้น‬

มี.ค. 68  – นายกฯ ประชุมใหญ่ติดตามผลที่ศูนย์สื่อสารแก้ไขปัญหาทางอากาศ

-‬‭ สรุป: ฝุ่นเฉลี่ยและจุดความร้อนลดลง 16–20%‬

– สั่งเดินหน้าประสานประเทศเพือนบ้าน และดูแลประชาชนกลุ่มเสี่ยง‬

ข้อสั่งการที่สำคัญ

–  ยกระดับให้ปัญหาฝุ่นควัน เป็นวาระแห่งชาติ และวาระแห่งอาเซียน  

–  ตั้งกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บก.ปภ.ช. ฟรือ ปภ.ช.) เมื่อ 25 ม.ค. 2568 เป็นกลไกที่มีอยู่แล้ว แต่เพิ่มบทบาทวาระสำคัญเร่งด่วนเรื่องฝุ่นควันเป็นหลัก มี อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ รมว.มท.เป็นผู้บัญชาการฯ 

ด้านงบประมาณ  :   

1.อนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ภายใต้มาตรการรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 วงเงิน 620 ล้านบาท (ขอมา 1,075 บาท)  มีรายละเอียดดังนี้

  1. กรมป่าไม้ วงเงิน 187 ล้านบาท :  สนับสนุนการควบคุมไฟป่าให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, สนับสนุนการควบคุมไฟป่าให้แก่ชุมชนที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า 187 ล้านบาท
  2. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช วงเงิน 433 ล้านบาท  :   การบูรณาการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันฯ จัดตั้งจุดเฝ้าระวังโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน, การเพิ่มประสิทธิภาพการรับมือสถานการณ์ไฟป่าฯ ,การสำรวจและจัดทำลานจอดเฮลิคอปเตอร์ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าภายใต้กิจการควบคุมไฟป่า, บูรณาการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศร่วมกับกองทัพภาคที่ 3 ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพภาคที่ 3 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3

2. ออกมาตรการรถไฟฟ้า รถเมล์ฟรี 25-31 มกราคม 2568 ในช่วงปัญหาฝุ่นควันใน กทม. และปริมลฑลวิกฤติ  ใช้งบกลาง 190 ล้านบาท ประกอบด้วย การยกเว้นค่าบริการรถโดยสารสาธารณะของ ขสมก. ได้แก่ รถโดยสารธรรมดา จำนวน 1,520 คัน และรถโดยสารปรับอากาศ จำนวน 1,364 คัน วงเงิน 51.69 ล้านบาท รวมถึงการยกเว้นค่าบริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของรถไฟสายสีแดง วงเงิน 4.90 ล้านบาท และกรุงเทพหานคร (กทม.) สำหรับบริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอส) และรถไฟฟ้าสายสีทอง วงเงิน 133.84 ล้านบาท

3.อนุมัติรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อดำเนินโครงการจัดหาชุดเครื่องผลิตสารฝนหลวงสูตร 3 (น้ำแข็งแห้ง) จำนวน 4 แห่ง วงเงินงบประมาณ  200  ล้านบาท  ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ 

ขณะที่ด้านนิติบัญญัติ พรรคเพื่อไทย มุ่งมั่นตั้งใจที่จะผลักดันกฎหมายเพื่อคืนอากาศสะอาดให้กับคนไทยทุกคน ผ่านร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาดเพื่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน พ.ศ. …. ร่างโดยพรรคเพื่อไทย ส่วนรัฐบาลก็มี ร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. … ซึ่งขณะนี้ทั้ง 2 ร่างกฎหมายรัฐสภาได้ลงมติเห็นชอบรับหลักการ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) อากาศสะอาดของพรรคเพื่อไทยและของรัฐบาล ร่วมกับร่างของพรรคการเมืองและภาคประชาชน รวม ทั้ง 7 ฉบับ พร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการวิสามัญ (กมธ.) ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด โดยมีนายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม อดีต สส.เชียงใหม่ และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานกรรมาธิการ

#พรรคเพื่อไทย #ไฟป่า #ฝุ่นควัน